3 เทรนด์ความยั่งยืน ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
จากผลสำรวจพบว่าคนไทยกว่า 62% เชื่อว่าทุกคนจะต้องช่วยกันดูแลโลกเพื่อความยั่งยืน ซึ่งผู้ที่สนใจเรื่องความยั่งยืนนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ ในกลุ่ม Upper-Middle Class และคนในเมือง ยิ่งไปกว่านั้นเหตุการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังทำให้คนหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ Single Use มากขึ้นจากความกังวลในเรื่องสุขอนามัย ดังนั้นหากจะให้คนไทยหันมาสนใจเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจังก็จะต้องให้ความรู้และสินค้าที่มีความยั่งยืนจะต้องมีราคาที่จับต้องได้
มาดู 3 ประเด็นหลักที่น่าสนใจในเรื่องของเทรนด์ความยั่งยืน ซึ่งแบรนด์ Food & Drink สามารถช่วยขับเคลื่อนประเด็นนี้ให้กับสังคมได้
1. Packaging undermines sustainable ambitions
ถึงแม้หลายแบรนด์จะพยายามทำบรรจุภัณฑ์ให้มีความรักษ์โลกมากขึ้น แต่ด้วยตลาดออนไลน์ที่เติบโตขึ้นสูง ที่ให้ทั้งความสะดวกสบายและเกี่ยวข้องกับการระบาดของโควิด-19 นั้น ทำให้เกิดปัญหาขยะจากการขนส่ง แบรนด์สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและช่วยส่งเสริมผู้บริโภคให้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมผ่านผลิตภัณฑ์ได้เช่นกัน
กลุ่มผลิตภัณฑ์ Food & Drink จากข้อมูล Mintel ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2017 – มกราคมปี 2022 มีผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มในไทย มักเคลมเครื่องบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และการรีไซเคิลรองลงมา แต่การเคลมเรื่องความยั่งยืนของแหล่งส่วนผสมหรือที่มาของผลิตภัณฑ์ยังมีน้อยอยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสของตลาดกลุ่มประเภทนี้
2. Millennials practice sustainability through brands
สินค้าที่เคลมเรื่องความยั่งยืนมักจะได้รับการตอบรับจากกลุ่มคนอายุ 25-34 ปี มากที่สุด เพราะพวกเขาคิดว่าการใช้ชีวิตแบบยั่งยืนอาจจะยุ่งยากเกินไป จึงเลือกที่จะจับจ่ายผ่านทางแบรนด์มากกว่า ซึ่งหากแบรนด์แสดงให้เห็นถึงความยั่งยืนก็จะสามารถจูงใจกลุ่มคน Millennials ได้มาก
จากผลสำรวจของ Mintel 85% ของกลุ่มคนอายุ 25-34 ปี เลือกทานอาหาร Plant-based โดยไม่เพียงแค่เพื่อสุขภาพแต่เพื่อความยั่งยืนด้วย พวกเขาให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทาน (Ready Meal) ที่เป็น Plant-based 100% และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์นี้ในไทยยังมีน้อย ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์ประเภทอาหารพร้อมทาน (Ready Meal) ที่จะตอบสนองสิ่งนี้
3. Seeking solid proof of sustainability efforts
แม้จะมีหลายแบรนด์ที่เคลมเรื่องความยั่งยืน แต่แค่นั้นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะ 1 ใน 3 ของผู้บริโภคไทยต้องการหลักฐานเพิ่มเติมว่าสิ่งที่แบรนด์กล่าวออกมานั้นเป็นเรื่องจริง
การมีข้อมูลเรื่องความโปร่งใสในการผลิตและแหล่งที่มาส่วนผสมจะทำให้แบรนด์เพิ่มมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารได้มากขึ้น จากผลสำรวจของ Mintel พบว่า 88% ของพ่อแม่เห็นด้วยว่าอาหารในกลุ่มที่มาจากสัตว์ปีกควรมีข้อมูลแหล่งที่มา และ 90% ของคนไทยเห็นด้วยกระบวนการผลิตอาหารควรมีความโปร่งใส ซึ่งการใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาช่วยในสืบย้อนกลับที่มาของผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับคุณภาพของสินค้า และเป็นที่สนใจของคนไทย เพราะส่วนใหญ่พวกเขาอยากได้ข้อมูลในเรื่องของฟาร์มและเดลี่ฟาร์มมากขึ้น
ที่มาข้อมูล : Mintel, Sustainability Trends and Their Impact on Thailand’ s Food & Beverage and Beauty Industries