เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยโพสไบโอติก (Postbiotic)

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยโพสไบโอติก (Postbiotic)

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยโพสไบโอติก (Postbiotic)

  • 21/03/2024

โพรไบโอติก พรีไบโอติก ซินไบโอติก และโพสไบโอติก หลายคนอาจคุ้นเคยกับโพรไบโอติกและพรีไบโอติกมาบ้างแล้ว แต่ซินไบโอติกและโพสไบโอติก คืออะไร มีส่วนช่วยอย่างไร ให้สุขภาพร่างกายของเราแข็งแรง!

โพรไบโอติก คือ กลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีชีวิต และมีประโยชน์มากต่อร่างกาย

พรีไบโอติก คือ อาหารของโพรไบโอติก มาจากพืช ผัก ผลไม้ ใยอาหารชนิดต่างๆ หรือกลุ่มของสารอาหารที่อยู่ในน้ำตาลแอลกอฮอล์บางชนิดก็มีพรีไบโอติกเช่นกัน

ส่วนสารที่มีทั้งโพรไบโอติก และพรีไบโอติกอยู่ร่วมกัน เราจะเรียกว่า “ซินไบโอติก” และจุลินทรีย์ที่เราตั้งใจจะพูดถึงนั้น คือ โพสไบโอติก จุลินทรีย์ตัวสำคัญที่ไม่มีในร่างกายไม่ได้เลย!

โพสไบโอติกตามธรรมชาติ จะเกิดจากการที่โพรไบโอติกกินพรีไบโอติกเข้าไป ทำให้มีการผลิตสารสำคัญ ที่เรียกว่า โพสไบโอติก คือ การเกิดกระบวนการหมักของโพรไบโอติก ซึ่งจะมีมากมายหลากหลายกลุ่ม กลุ่มหลักๆ คือ กรดไขมันสายสั้น ประกอบด้วย อะซิเตท โพรไพโอเนต และ บิวทีเรท ซึ่งสารเหล่านี้ จะช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยควบคุมความหิว แถมช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยระบบย่อย ทำให้ไม่เกิดโรคอ้วนได้ นอกจากนั้น โพรไบโอติกที่ตาย ก็ถือว่าเป็นโพสไบโอติกเช่นกัน เพราะผนังเซลล์ของโพรไบโอติกจะมีสารสำคัญที่ยังทำปฏิกิริยา ช่วยในการควบคุมความดัน บางตัวเปลี่ยนเป็นเปปไทด์มาช่วยบำรุงสมอง เพราะสุขภาพลำไส้กับสมองมีความเชื่อมโยงกัน เหมือนที่คุณหมอเคยกล่าวไว้ว่า ลำไส้ของเราเปรียบเสมือนสมองที่ 2 ของร่างกาย หากอาหารที่เรารับประทานมีโพรไบโอติก พรีไบโอติก ลำไส้ก็จะสามารถผลิตโพสไบโอติกได้อย่างเต็มที่ เกิดสารสื่อประสาทบางตัว เช่น กาบา ฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งจะส่งผลให้สมองสงบ รู้สึกผ่อนคลาย ส่งเสริมสุขภาพสมอง ลดการเสื่อมของสมอง และยังมีงานวิจัยว่ามีส่วนช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย

ประเภทอาหารที่จะช่วยปรับสมดุลลำไส้

เช่น กิมจิ ผักดอง หรืออาหารหมักดองอย่างถูกสุขลักษณะ ซุปมิโสะ คอทเทจชีส บัตเตอร์มิลค์ เทมเป้ โยเกิร์ต Kombucha (หรือชาหมัก) อาหารที่มีใยอาหารสูงอย่างกระเทียม หัวหอม คีเฟอร์ และ ถั่วนัตโตะ เป็นต้น

ประโยชน์ของโพสไบโอติก

1. ช่วยเพิ่มและสนันสนุนระบบภูมิคุ้มกัน กรดไขมันสายสั้น สามารถกระตุ้นการผลิต T-cell ที่เป็นเซลล์ภูมิต้านทานชนิดหนึ่ง ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันการติดเชื้อ

2. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคอ้วน และลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

3. ช่วยลดโรคที่เกิดจากทางเดินอาหาร ท้องร่วง การอักเสบ และเนื้องอก

4. ให้สมองสงบ รู้สึกผ่อนคลาย ส่งเสริมสุขภาพสมอง ลดการเสื่อมของสมอง และยังมีงานวิจัยว่ามีส่วนช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้

5. โพสไบโอติกอาจทนทานได้ดีกว่าโพรไบโอติก เมื่อทานโพรไบโอติกเข้าไป จะเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีที่เป็นประโยชน์ในร่างกาย บางคนอาจไม่สามารถทนต่อโพรไบโอติกได้ดี เช่น ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำ ผู้ที่พึ่งผ่านการผ่าตัดมา หรือในเด็กเล็ก ดังนั้นโพสไบโอติกอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า